รู้หรือมั้ยช่วงนี้มีดาวหางที่มองเห็นด้วยตาเปล่าให้เราดูนะ 18 -23 กรกฎาคม ช่วงหัวค่ำ รอชมดาวหางด้วยกัน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในประเทศไทยให้ข้อมูลว่า สังเกตดาวหาง NEOWISE ในช่วงตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ในช่วงเช้ามืดจนถึงก่อนดงอาทิตย์โผล่พ้นของฟ้า ใกล้กับเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
ช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกตคือประมาณวันที่ 20-23 กรกฎาคมหลังจากออกห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว (และยังเป็นช่วงคืนเดือนมืดที่ดาวหางจะไม่ถูกบดบังโดยแสงรบกวนจากดวงจันทร์) โดยจะสว่างที่สุดประมาณวันที่ 23 กรกฎาคมก่อนที่จะเลือนรางลงเรื่อย ๆ และหายไปในที่สุด
ดาวหาง C/2020 F3 NEOWISE ดวงนี้ได้ถูกค้นพบโดยยานอวกาศ NEOWISE อดีตกล้องโทรทัศน์อวกาศ WISE (The Wide-field Infrared Survey Explorer) ที่ถูกส่งขึ้นไปในเดือนธันวาคมปี 2009 เข้าสู่ภาวะจำศีลในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2011 ก่อนที่จะถูกปลุกขึ้นในเดือนกันยายนปี 2013 ภายใต้ชื่อใหม่คือ NEOWISE ในภารกิจการช่วยเหลือ NASA สำรวจวัตถุใกล้โลก (Near Earth Objects คือดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะให้โคตรเข้ามาใกล้โลก)
หมายเหตุ เวลาเห็นดาวหางบนฟ้าไม่ได้วิ่งเหมือนดาวตกแต่จะลอยนิ่งๆ เหมือนกับดวงดาวทั่วไปต่างกันตรงที่มีละอองฝุ่นให้เห็นเป็นเส้นทาง ภาพนำมาประกอบเป็นภาพจากต่างประเทศที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งซึ่งเขาสามารถเห็นได้ชัดกว่าเรา